วันศุกร์ที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

ศรีสุวรรณ ก็เห็นด้วยกับหนังสือถึงการแนะนำในการจัดการเลือกตั้ง ส.ส. ของสารวัตรแรมโบ้ ให้นำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในการเลือกตั้ง ชัชชาติ ผู้ว่า กทม. ก็มีแนวคิดเห็นตรงกัน การจัดการเลือกตั้งในเมืองไทย พรรคการเมือง ก็ถูกยุบพรรคมาแล้วมากมาย และผู้สมัคร ส.ส. บางท่าน ก็ถูกใบเหลือง ใบแดง ถูกตัดสินในการสมัคร ส.ส. และด้วยในวันอาทิตย์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 ที่จะถึงนี้ ก็จะมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ทั้งประเทศอีกครั้ง สารวัตรแรมโบ้ -พันตำรวจเอกสุรโชค เจษฎาเดช อดีตผู้กำกับสืบสวนตำรวจภูธรจังหวัดอำนาจเจริญ และคณะที่ปรึกษา ได้ให้ความสำคัญในการพัฒนาการเมืองของไทย จึงได้ทำหนังสือยื่นถึงคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) แนะนำสิ่งที่น่าจะเป็นประโยชน์ในการจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและนักการเมืองให้สะดวก รวดเร็ว สะอาดและยุติธรรม เพื่อเป็นประโยชน์ในการพัฒนาทางการเมืองในโอกาสต่อๆ ไปในอนาคต โดยได้ยื่นไปทางไปรษณีย์ไปแล้วครั้งหนึ่งเมื่อวันที่ 26 เมษายน 2566 และในวันนี้ (วันที่ 3 พฤษภาคม 2566) สารวัตรแรมโบ้ -พันตำรวจเอกสุรโชค เจษฎาเดช ก็ได้เดินทางมาที่สำนักคณะกรรมการการเลือกตั้ง อาคารรัฐประศาสนภักดี ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร ได้นำหนังสือแนะนำในการจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและนักการเมืองมายื่นกับ กกต. ด้วยตัวเอง โดยทาง กกต. ได้ออกเอกสารการรับหนังสือดังกล่าวแล้ว เลขที่ 14594 วันที่ 3 พฤษภาคม 2566 เวลา 10.10 น. สำหรับหนังสือแนะนำในการจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและนักการเมืองที่ยื่นถึง กกต. มีใจความที่สำคัญคือ ให้นำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในการเลือกตั้ง มีผลทำให้การเลือกตั้งมีความสะดวก รวดเร็ว สุจริต และยุติธรรมขึ้น และขอนำเสนอพอสังเขปได้ดังนี้ คือ 1. สิ่งที่มีความสำคัญที่สุดในระบบต่างประเทศที่มีประชาธิปไตยมายาวนาน การพิจารณาการยุบพรรคการเมืองนั้น จะต้องมีกระบวนการที่มีความรัดกุม มีความละเอียด และชัดเจนมาก ในต่างประเทศจะมีการยุบพรรคการเมืองน้อยมาก และถ้าไม่จำเป็นจริงๆ ก็จะไม่มีการยุบพรรคการเมือง เพราะพรรคการเมืองถือเป็นองค์กรสถาบันทางการเมืองที่อยู่ยึดติดกับประชาชน พรรคการเมืองจะต้องมีประชาชนที่เป็นสมาชิกพรรคการเมืองอยู่ทั่วประเทศ เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนใช้สิทธิใช้เสียงผ่านไปยังพรรคการเมือง โดยผ่านทางสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรคการเมืองนั้นๆ เพื่อเป็นสิทธิประโยชน์ของประชาชน ดังนั้นการยุบพรรคการเมืองเหมือนเป็นการหยุดการพัฒนาทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย เพราะประชาชนที่เป็นสมาชิกพรรคการเมืองทั่วประเทศที่ไม่รู้รายละเอียดของการกระทำผิดกฎหมายเลือกตั้งตามที่กฎหมายเลือกตั้งบัญญัตไว้ จึงไม่ใช่ความผิดของประชาชนที่เป็นสมาชิกพรรคและพรรคการเมืองนั้นต้องรับผิดชอบ ฉะนั้นผู้ที่รับผิดชอบควรเป็นกรรมการบริหารพรรคที่กระทำความผิดหรือรู้เห็นจากการร่วมกันกระทำผิดกฎหมายเลือกตั้งตามที่บัญญัติไว้ 2. ในต่างประเทศบางประเทศได้ใช้เครื่องลงคะแนนแบบอิเล็กทรอนิกส์ที่ทันสมัยในการเลือกตั้ง เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการลงคะแนน นับคะแนน และประกาศผลคะแนนการเลือกตั้งทุกครั้งได้รวดเร็วขึ้น ดังนั้นจึงเห็นสมควรที่จะนำเครื่องลงคะแนนแบบอิเล็กทรอนิกส์มาพิจารณาใช้ในโอกาสต่อไปในการเลือกตั้งครั้งหน้า 3. หีบที่ใส่บัตรลงคะแนนเลือกตั้ง ควรเป็นหีบที่เป็นเหล็กกล้าที่ทันสมัย แข็งแรงและทนทาน ยากต่อการงัด ทุบ ทำลาย พร้อมกุญแจล็อคที่แข็งแรงมาใช้ เพื่อป้องกันการทุบ งัด รื้อ หรือทำลายได้โดยง่าย ไม่ควรนำกล่องกระดาษหรือกล่องพลาสติกมาใช้เป็นหีบใส่บัตรลงคะแนนเหมือนที่ผ่านมา 4. ควรนำกล้องวงจรปิดที่ทันสมัยแบบไร้สาย ใช้ซิมการ์ด และมีเมมเมอร์รี่การ์ด ที่สามารถบันทึกเก็บความจำได้ทั้งวันแบบออนไลน์ รวมทั้งอินเตอร์เน็ต wifi ที่สามารถบันทึกภาพและเสียงที่ได้ยินการพูดคุยอย่างชัดเจน และสามารถดูทางมือถือได้ โดยให้นำมาใช้ในหน่วยเลือกตั้งทั่วประเทศ หน่วยเลือกตั้งละ 1-2 เครื่อง มีการบันทึกตลอดเวลาในขณะประชาชนทั่วไปมาใช้สิทธิเลือกตั้งในวันใช้สิทธิลงคะแนน รวมทั้งใช้บันทึกตอนนับคะแนน และประกาศผลคะแนนทุกขั้นตอน ซึ่งปัจจุบันนี้ราคาไม่แพง 5. ในบัตรเลือกตั้งควรมีบาร์โค้ดทุกใบ เพื่อเช็คได้ว่าเป็นบัตรที่มาจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เพื่อให้เกิดความสุจริตยุติธรรมมากยิ่งขึ้น 6. ขอให้ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ควรยกเว้นค่าสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั่วประเทศ เพื่อเปิดโอกาสให้พรรคการเมืองผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทุกพรรคไม่ต้องเสียค่าสมัคร จะช่วยให้พรรคการเมืองทุกพรรคไม่มีค่าใช้จ่าย เป็นการลดค่าใช้จ่ายของพรรคการเมืองและนักการเมือง ซึ่งถือเป็นการพัฒนาทางการเมืองของประเทศตามนโยบายของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) โดยตรง 7. ป้ายหาเสียงตามจุดต่างๆ การใช้รถแห่ป้ายหาเสียง คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ควรเป็นผู้จัดการทั้งหมด เพื่อเปิดโอกาสให้พรรคการเมืองผู้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทุกพรรคได้หาเสียงแบบเท่าเทียมกัน และต้องไม่เสียค่าใช้จ่าย 8. ไม่ให้พรรคการเมืองและนักการเมืองออกค่าใช้จ่ายช่วยงานต่างๆ เช่น งานแต่ง งานบวช งานเลี้ยงต่างๆ แต่สามารถไปร่วมงานได้ แต่ห้ามใช้เงินช่วยค่าใช้จ่ายในงาน และประชาชนก็ห้ามเรียกรับเงินจากการช่วยงานโดยเด็ดขาด 9. หมายเลขบัตรเลือกตั้งแบบ สส.บัญชีรายชื่อ กับหมายเลขบัตรเลือกตั้ง สส.เขต ควรที่จะเป็นหมายเลขเดียวกัน เพื่อความสะดวกง่ายต่อการจดจำของประชาชนผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งทั่วประเทศ ป้องกันการสับสนของประชาชน ประชาชนที่มีอายุมากมักจะไม่ค่อยเข้าใจ การยื่นหนังสือแนะนำในการจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและนักการเมืองมาเพื่อพิจารณา สารวัตรแรมโบ้-พันตำรวจเอกสุรโชค เจษฎาเดช ไม่ได้ทำเพื่อพรรคการเมืองหนึ่งพรรคการเมืองใดทั้งสิ้น และไม่มีเจตนาที่จะให้ผู้หนึ่งผู้ใดเสียหายแต่อย่างใด แต่ทำเพื่อให้การเลือกตั้งในครั้งต่อๆ ไปสะดวก รวดเร็ว และสามารถตรวจสอบได้ เพื่อประเทศชาติจะได้มีพรรคการเมือง นักการเมืองที่ซื่อสัตย์ สุจริต ยุติธรรม และลดค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้ง ในหนังสือดังกล่าว นายชัช สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) ยังมีความเห็นตรงกันในการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ โดยการนำระบบ AI มาใช้นับผลคะแนนแทนการเขียนมือ 5 นาทีรู้ผลทันที และติดกล้องเฝ้าจุดเก็บหีบ ให้ดูบนเว็บได้ 24 ชั่วโมง เพื่อความสะดวก รวดเร็ว ซื่อสัตย์ สุจริต ยุติธรรม ป้องกันการโกงในรูปแบบต่างๆ สามารถตรวจสอบได้ ส่วนนายศรีสุวรรณ จรรยา เมื่อเห็นใจความในหนังสือที่สารวัตรแรมโบ้ -พันตำรวจเอกสุรโชค เจษฎาเดช แนะนำในการจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและนักการเมืองที่นำมายื่นกับ กกต. ก็มีความเห็นหลายอย่างคล้ายๆ กัน และสนับสนุนอย่างเต็มที่เช่นกัน

ศรีสุวรรณ ก็เห็นด้วยกับหนังสือถึงการแนะนำในการจัดการเลือกตั้ง ส.ส. ของสารวัตรแรมโบ้ 

ให้นำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในการเลือกตั้ง 

ชัชชาติ ผู้ว่า กทม. ก็มีแนวคิดเห็นตรงกัน

       การจัดการเลือกตั้งในเมืองไทย พรรคการเมือง ก็ถูกยุบพรรคมาแล้วมากมาย และผู้สมัคร ส.ส. บางท่าน ก็ถูกใบเหลือง ใบแดง ถูกตัดสินในการสมัคร ส.ส. และด้วยในวันอาทิตย์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 ที่จะถึงนี้ ก็จะมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ทั้งประเทศอีกครั้ง

        สารวัตรแรมโบ้ -พันตำรวจเอกสุรโชค เจษฎาเดช อดีตผู้กำกับสืบสวนตำรวจภูธรจังหวัดอำนาจเจริญ และคณะที่ปรึกษา ได้ให้ความสำคัญในการพัฒนาการเมืองของไทย จึงได้ทำหนังสือยื่นถึงคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) แนะนำสิ่งที่น่าจะเป็นประโยชน์ในการจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและนักการเมืองให้สะดวก รวดเร็ว สะอาดและยุติธรรม เพื่อเป็นประโยชน์ในการพัฒนาทางการเมืองในโอกาสต่อๆ ไปในอนาคต โดยได้ยื่นไปทางไปรษณีย์ไปแล้วครั้งหนึ่งเมื่อวันที่ 26 เมษายน 2566 และในวันนี้ (วันที่ 3 พฤษภาคม 2566) สารวัตรแรมโบ้ -พันตำรวจเอกสุรโชค เจษฎาเดช ก็ได้เดินทางมาที่สำนักคณะกรรมการการเลือกตั้ง อาคารรัฐประศาสนภักดี ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร ได้นำหนังสือแนะนำในการจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและนักการเมืองมายื่นกับ กกต. ด้วยตัวเอง โดยทาง กกต. ได้ออกเอกสารการรับหนังสือดังกล่าวแล้ว เลขที่ 14594  วันที่ 3 พฤษภาคม 2566 เวลา 10.10  น.

        สำหรับหนังสือแนะนำในการจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและนักการเมืองที่ยื่นถึง กกต. มีใจความที่สำคัญคือ ให้นำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในการเลือกตั้ง มีผลทำให้การเลือกตั้งมีความสะดวก รวดเร็ว สุจริต และยุติธรรมขึ้น และขอนำเสนอพอสังเขปได้ดังนี้ คือ


1. สิ่งที่มีความสำคัญที่สุดในระบบต่างประเทศที่มีประชาธิปไตยมายาวนาน การพิจารณาการยุบพรรคการเมืองนั้น จะต้องมีกระบวนการที่มีความรัดกุม มีความละเอียด และชัดเจนมาก ในต่างประเทศจะมีการยุบพรรคการเมืองน้อยมาก และถ้าไม่จำเป็นจริงๆ ก็จะไม่มีการยุบพรรคการเมือง เพราะพรรคการเมืองถือเป็นองค์กรสถาบันทางการเมืองที่อยู่ยึดติดกับประชาชน พรรคการเมืองจะต้องมีประชาชนที่เป็นสมาชิกพรรคการเมืองอยู่ทั่วประเทศ เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนใช้สิทธิใช้เสียงผ่านไปยังพรรคการเมือง โดยผ่านทางสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรคการเมืองนั้นๆ เพื่อเป็นสิทธิประโยชน์ของประชาชน ดังนั้นการยุบพรรคการเมืองเหมือนเป็นการหยุดการพัฒนาทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย เพราะประชาชนที่เป็นสมาชิกพรรคการเมืองทั่วประเทศที่ไม่รู้รายละเอียดของการกระทำผิดกฎหมายเลือกตั้งตามที่กฎหมายเลือกตั้งบัญญัตไว้ จึงไม่ใช่ความผิดของประชาชนที่เป็นสมาชิกพรรคและพรรคการเมืองนั้นต้องรับผิดชอบ ฉะนั้นผู้ที่รับผิดชอบควรเป็นกรรมการบริหารพรรคที่กระทำความผิดหรือรู้เห็นจากการร่วมกันกระทำผิดกฎหมายเลือกตั้งตามที่บัญญัติไว้

2. ในต่างประเทศบางประเทศได้ใช้เครื่องลงคะแนนแบบอิเล็กทรอนิกส์ที่ทันสมัยในการเลือกตั้ง เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการลงคะแนน นับคะแนน และประกาศผลคะแนนการเลือกตั้งทุกครั้งได้รวดเร็วขึ้น ดังนั้นจึงเห็นสมควรที่จะนำเครื่องลงคะแนนแบบอิเล็กทรอนิกส์มาพิจารณาใช้ในโอกาสต่อไปในการเลือกตั้งครั้งหน้า


3. หีบที่ใส่บัตรลงคะแนนเลือกตั้ง ควรเป็นหีบที่เป็นเหล็กกล้าที่ทันสมัย แข็งแรงและทนทาน ยากต่อการงัด ทุบ ทำลาย พร้อมกุญแจล็อคที่แข็งแรงมาใช้ เพื่อป้องกันการทุบ งัด รื้อ หรือทำลายได้โดยง่าย ไม่ควรนำกล่องกระดาษหรือกล่องพลาสติกมาใช้เป็นหีบใส่บัตรลงคะแนนเหมือนที่ผ่านมา

4. ควรนำกล้องวงจรปิดที่ทันสมัยแบบไร้สาย ใช้ซิมการ์ด และมีเมมเมอร์รี่การ์ด ที่สามารถบันทึกเก็บความจำได้ทั้งวันแบบออนไลน์ รวมทั้งอินเตอร์เน็ต wifi ที่สามารถบันทึกภาพและเสียงที่ได้ยินการพูดคุยอย่างชัดเจน และสามารถดูทางมือถือได้  โดยให้นำมาใช้ในหน่วยเลือกตั้งทั่วประเทศ หน่วยเลือกตั้งละ 1-2 เครื่อง มีการบันทึกตลอดเวลาในขณะประชาชนทั่วไปมาใช้สิทธิเลือกตั้งในวันใช้สิทธิลงคะแนน รวมทั้งใช้บันทึกตอนนับคะแนน และประกาศผลคะแนนทุกขั้นตอน ซึ่งปัจจุบันนี้ราคาไม่แพง

5. ในบัตรเลือกตั้งควรมีบาร์โค้ดทุกใบ เพื่อเช็คได้ว่าเป็นบัตรที่มาจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เพื่อให้เกิดความสุจริตยุติธรรมมากยิ่งขึ้น

6. ขอให้ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ควรยกเว้นค่าสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั่วประเทศ เพื่อเปิดโอกาสให้พรรคการเมืองผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทุกพรรคไม่ต้องเสียค่าสมัคร จะช่วยให้พรรคการเมืองทุกพรรคไม่มีค่าใช้จ่าย เป็นการลดค่าใช้จ่ายของพรรคการเมืองและนักการเมือง ซึ่งถือเป็นการพัฒนาทางการเมืองของประเทศตามนโยบายของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) โดยตรง

7. ป้ายหาเสียงตามจุดต่างๆ การใช้รถแห่ป้ายหาเสียง คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ควรเป็นผู้จัดการทั้งหมด เพื่อเปิดโอกาสให้พรรคการเมืองผู้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทุกพรรคได้หาเสียงแบบเท่าเทียมกัน และต้องไม่เสียค่าใช้จ่าย

8. ไม่ให้พรรคการเมืองและนักการเมืองออกค่าใช้จ่ายช่วยงานต่างๆ เช่น งานแต่ง งานบวช งานเลี้ยงต่างๆ แต่สามารถไปร่วมงานได้ แต่ห้ามใช้เงินช่วยค่าใช้จ่ายในงาน และประชาชนก็ห้ามเรียกรับเงินจากการช่วยงานโดยเด็ดขาด 

9. หมายเลขบัตรเลือกตั้งแบบ สส.บัญชีรายชื่อ กับหมายเลขบัตรเลือกตั้ง สส.เขต ควรที่จะเป็นหมายเลขเดียวกัน เพื่อความสะดวกง่ายต่อการจดจำของประชาชนผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งทั่วประเทศ ป้องกันการสับสนของประชาชน ประชาชนที่มีอายุมากมักจะไม่ค่อยเข้าใจ

         การยื่นหนังสือแนะนำในการจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและนักการเมืองมาเพื่อพิจารณา สารวัตรแรมโบ้-พันตำรวจเอกสุรโชค เจษฎาเดช ไม่ได้ทำเพื่อพรรคการเมืองหนึ่งพรรคการเมืองใดทั้งสิ้น และไม่มีเจตนาที่จะให้ผู้หนึ่งผู้ใดเสียหายแต่อย่างใด แต่ทำเพื่อให้การเลือกตั้งในครั้งต่อๆ ไปสะดวก รวดเร็ว และสามารถตรวจสอบได้  เพื่อประเทศชาติจะได้มีพรรคการเมือง นักการเมืองที่ซื่อสัตย์ สุจริต ยุติธรรม และลดค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้ง

         ในหนังสือดังกล่าว นายชัช สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) ยังมีความเห็นตรงกันในการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ โดยการนำระบบ AI มาใช้นับผลคะแนนแทนการเขียนมือ 5 นาทีรู้ผลทันที และติดกล้องเฝ้าจุดเก็บหีบ ให้ดูบนเว็บได้ 24 ชั่วโมง เพื่อความสะดวก รวดเร็ว ซื่อสัตย์ สุจริต ยุติธรรม ป้องกันการโกงในรูปแบบต่างๆ สามารถตรวจสอบได้

          ส่วนนายศรีสุวรรณ จรรยา เมื่อเห็นใจความในหนังสือที่สารวัตรแรมโบ้ -พันตำรวจเอกสุรโชค เจษฎาเดช แนะนำในการจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและนักการเมืองที่นำมายื่นกับ กกต. ก็มีความเห็นหลายอย่างคล้ายๆ กัน และสนับสนุนอย่างเต็มที่เช่นกัน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง "ซับน้ำตาชาวใต้" 8 จังหวัดภาคใต้

มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง "ซับน้ำตาชาวใต้" 8 จังหวัดภาคใต้ จัดงบกว่า 15.5 ล้านบาท ฟื้นฟูหลังน้ำลดผู้ประสบอุทกภัย  แจกจ่ายเครื่องอุปโภคบริ...